IT 4 PEACE

IT 4 PEACE

หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

คำศัพท์ KM ตอนที่ 1

1. Knowledge Strategy กลยุทธ์ความรู้
มีกลยุทธ์ที่สำคัญในการนำ Tacit Knowledge และ Explicit Knowledge มาแบ่งปันกันอยู่สองกลยุทธ์ คือ
1)  Codification Strategy
        มีวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมความรู้ จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล และนำออกใช้อย่างเป็นหมวดหมู่ในรูปที่เป็น Explicit Knowledge ซึ่งการนำ Explicit Knowledge มาใช้ซ้ำผ่านกระบวนการจัดการเช่นนี้จะสามารถประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย การออกแบบฐานข้อมูล การบริหารงานเอกสาร และสายการจัดการเพื่อการใช้ข้อมูล จัดเป็นส่วนหนึ่งของ Codification Strategy ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสำหรับองค์กรที่กลยุทธ์ทางธุรกิจมีความต้องการใช้ซ้ำความรู้ที่มีอยู่
2)  Personalization Strategy
        เน้นที่การนำ IT มาช่วยบุคคลสื่อสารความรู้ระหว่างกัน มีวัตถุประสงค์ที่จะถ่ายโอน สื่อสาร และแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านเครือข่ายความรู้เช่นการอภิปราย หากองค์กรใดมีกลยุทธ์ทางธุรกิจที่จะสร้างคำตอบใหม่ๆหรือเป็นการเฉพาะให้กับลูกค้าหรือเป็นการสร้างนวัตกรรม องค์กรนั้นควรเลือกกลยุทธ์การจัดการความรู้ประเภท Personalization Strategy มากกว่าCodification Strategy


2. Knowledge sharing การแบ่งปันความรู้
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) คือ การที่กลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกัน  มารวมตัวกันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้วยความสมัครใจ เพื่อร่วมสร้างความเข้าใจหรือพัฒนาแนวปฏิบัติในเรื่องนั้นๆ
 องค์ประกอบหลักที่สำคัญๆ ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) มีอยู่ด้วยกัน 3 องค์ประกอบ ได้แก่
       คน (People) – ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นแหล่งศูนย์รวมของความรู้ที่สมควรนำออกมาแบ่งปันเป็นอย่างยิ่ง โดยก็ควรจะเป็นคนที่มีความรู้จากการปฏิบัติจริง และอยากจะมาแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้นั้น ด้วยความเต็มใจ
       สถานที่ และบรรยากาศ  (Place) – เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่จะทำให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีชีวิตชีวาและน่าสนใจ เพราะสถานที่และบรรยากาศที่ดี (สบายๆผ่อนคลาย) มีความเหมาะสมกับแต่ละกลุ่มคน จะทำให้คนเหล่านั้นมาเจอกันพูดคุย ปรึกษา วิเคราะห์ปัญหา  แบ่งปัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างสบายใจ
       สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ (Infrastructure) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ช่วยให้การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกิดได้ง่ายและสะดวกขึ้น เช่น กระดานสำหรับเขียน คอมพิวเตอร์สำหรับการสรุปและจัดเก็บความรู้รวมถึงการแบ่งปัน (Share) หรือการส่งต่อข้อมูล

       และเมื่อมีองค์ประกอบทั้ง 3 ประการพร้อมแล้ว การที่จะทำให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้นประสบความสำเร็จ และใช้ประโยชน์ได้จริง ก็ควรคำนึงถึงปัจจัยที่สำคัญๆของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล (Effective Knowledge Sharing) ดังนี้
ปัจจัยหลักของการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 6 ประการ ได้แก่
1.      กำหนดเป้าหมายการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ชัดเจนและสัมพันธ์กับเป้าหมายทางธุรกิจ
2.      สร้างผู้นำที่เป็นแบบอย่าง
3.      สร้างเครือข่ายของผู้มีความรู้จากการปฏิบัติ (Human Networks)    
4.      กำหนดวิธีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เหมาะกับวัฒนธรรมองค์กร
5.      แบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่นำไปใช้ในงานประจำวันได้ 
6.      สร้างแรงจูงใจที่สนับสนุนการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้


3. Knowledge workers  ผู้ปฏิบัติงานบนพื้นฐานความรู้           Knowledge workers  หรือผู้ปฏิบัติงานบนพื้นฐานความรู้  ซึ่งKnowledge workers   นี้จะเป็นผู้ที่มีศาสตร์เป็นฐานความรู้และมีศิลป์ในการบริหารจัดการในการนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้    โดย Knowledge workers  จะมีคุณลักษณะดังนี้
1)      มีความสามารถพิเศษในการแก้ปัญหาใหม่ ๆ
 2)      มีความคิดจิตใจที่เป็นอิสระ
3)      การจูงใจที่ดีคือการยอมรับเมือเขาสามารถทำงานได้บรรลุผลสำเร็จ
4)      ชอบทำงานเป็นทีม
5)      ไม่ชอบการควบคุม
6)      ชอบที่จะแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระในการสร้างทีม  
              การบริหารจัดการโดยใช้วิธีควบคุมและการกำกับทีม  จะทำให้ความสำเร็จของงานที่ได้ไม่ยั่งยืน   แต่ทีมที่สามารถควบคุมดูแลตนเองได้จะเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพมากกว่า  เพราะทีมจะมีคุณลักษณะเฉพาะคือ  ชอบที่จะเรียนรู้ในการควบคุมตนเอง  องค์กรเพียงมีแนวทางและเป้าหมายที่ชัดเจนมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้ทีมสามารถสร้างสรรค์ผลงานร่วมกันได้อย่างอิสระ (Delegate & Support)  เขาจะสามารถนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จได้โดยง่าย

4. Leverage of knowledge assets
Knowledge asset  คือ ความรู้ที่สร้างขึ้นมาได้จาก SECI  ( SECI คือกระบวนการสร้างความรู้ )
Knowledge asset  แบ่งเป็น 4 แบบ
  1.  Experimental - ความรู้แบบ tacit ที่เกิดจากประสบการณ์ในการทำงาน และสายสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน ลูกค้า คู่ค้า ฯลฯ ได้แก่: ทักษะในการทำงานของแต่ละคนความรักในการทำงาน, passion
  2.  Conceptual - ความรู้แบบ explicit ที่แสดงออกผ่านภาพลักษณ์ สัญลักษณ์ และภาษา ได้แก่: คอนเซปต์ผลิตภัณฑ์ดีไซน์แบรนด์
 3.  Routine - ความรู้แบบ tacit ที่วนๆ เป็นรูทีนอยู่ในองค์กร เช่น ทักษะในการทำงานของทีม วิธีหรือขั้นตอนการทำงานในองค์กร วัฒนธรรมองค์กร
 4.  Systemic - ความรู้ explicit ที่จัดทำเป็นแพกเกจ เช่น เอกสาร คู่มือ สเปก database สิทธิบัตร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น